การตัดต่อเสียงร้อง

การตัดต่อเสียงร้อง

Vocal Sampling and Editing หรือการตัดต่อเสียงร้อง เสียงเพื่อนำมาใช้ประโยชน์ในส่วนต่าง ๆ ของเพลง รวมถึงการยืดเสียง การหดเสียงด้วย

Basic Audio Editing

มี copy cut paste สามารถ ลบ duplicate ได้ สามารถกดลากเคลื่อนย้ายตำแหน่งได้ โดยมี Slip mode กับ Grid mode หรือคือ เลื่อนไดอิสระ กับ snap ตามจุดเวลาที่กำหนด

Time Based Audio Editing

มี 3 แบบให้ดู คือ

1. Clock time เวลาปกติ มี m, s และ ms

2. SMPTE เป็น longitudinal time code ตั้งโดย Society of Motion Picture and Television Engineers ในปี 1967 เพื่อใช้ในการตั้งเวลาของวีดีโอและเสียง

มี H:M:S:Frame (1 วิ ประมาณ 33 frames แต่ปกติใช้ 30 frames)

3. จาก Sample ของเสียง เช่นเลือก 44100 samples 1 วิ ก็จะเท่ากับ 44100

มีประโยชน์ต่อการปรับใช้กับ grid mode และมีการใช้ relative grid mode ที่สามารถเลื่อนเพิ่มลดทีละขั้นตามต้องการเช่น เริ่มที่ 91ms เลื่อนไปทีละ 1 s ก็เป็น 1s 91ms เป็นต้น

สามารถ spot เพื่อให้ตำแหน่งของ track ไปเริ่มที่เวลาต่างๆ

หรือใช้การ range select ให้ครอบที่ความยาวเป็นช่วงเวลาต่างๆ

Tempo Based Audio Editing

เป็น relative time...เพราะ เวลาต่อวิ จะเปลี่ยนไปตาม tempo

การ edit โดย tempo เป็นสิ่งที่ดี ทำให้สามารถตัดต่อไปตรงจังหวะเพลง

ปกติถ้าจัดให้ตรงตำแหน่งจะดูที่ Transient ของคำร้องนั้น

Basic Audio Sampling

Sampler เป็น plug-in ที่ใช้ record เสียงเข้ามา แล้วสามารถจัดการ position, pitch ต่างๆได้

Sampler ขึ้นกับการตั้งค่าใน DAW ถ้าตั้ง 44100 ก็จะเก็บ Samples ได้ 44100 ใน 1 วินาที

เหมือนใช้ VST Instrument เก็บค่าเสียงแล้วให้เรา พอกด midi controller เสียงก็จะเล่น โดยในตัวอย่างใช้ "Structure Free"

ซึ่งสามารถกดเปลี่ยน pitch ตาม midi ทีกดได้ (pitch สูงเสียง 1 octave เสียงมีความเร็วเพิ่มขึ้น 1 เท่า tempo, pitch ต่ำลง 1 octave เสียงมีความเร็วลดลง 1 เท่า tempo)

Elastic Audio

จะทำยังไง ถ้าอยากยืดเสียงแต่ให้ได้ pitch เดิม ใช้หลักการ compression และ expansion...

ถ้าขยายยืดเสียง expansion ต้องมีการเพิ่ม samples

ถ้าหดเสียง compression ต้องมีการเอา samples ออก

ปัจจุบัน มีหลาย algorithm ใน Pro tools

- polyphonic เหมาะกับหลายๆเสียงเครื่องดนตรีรวมกัน kick snare drum vocal หรือ เต็มเพลง

- Rhythmic ใช้เสียงกับพวก กลอง

- monophonic พวกเสียงเดี่ยว เบส กีต้าร์ เสียงร้อง

- Varyspeed เหมือนใช้ใน sampler

- X-form ดีสุดของ pro tools

ปกติจะไม่เปลี่ยนเยอะ เพราะเสียงที่ได้จะแปลก

ใช้ anchor เป็นเส้นในการเลื่อนจังหวะให้ตรง โดยความยาวยืดหดจะขยับตามด้วย ทำให้สามารถเปลี่ยนจังหวะของคำร้องต่างๆให้เป็น upbeat downbeat ตามต้องการได้

Flex

คือหลักการ Elastic ใน DAW อื่นๆ เรียก "time-stretching algorithm flex"

ReVoice

ใช้จัดการตำแหน่งและ pitch หลายๆ track ในด้าน vocal ใช้ในการปรับเสียง double ให้ใกล้เคียงกันมากขึ้นทั้งด้านความยาว และ pitch โดยโปรแกรมจะมีตัวเสียงหลัก guide แล้วก็เสียงที่ต้องการปรับ แล้ว render ออกมาเป็น เสียงที่ใกล้เคียงกับตัว guide ในด้าน pitch และ ตำแหน่ง โดยสามารถปรับได้

การมิกซ์ตำแหน่งเสียงร้อง

การมิกซ์ตำแหน่งเสียงร้อง

การมิกซ์ตำแหน่งของเสียงร้อง หรือ Artificial Mix Placement for Vocals

ทำไมถึงไม่ทำแค่ Natural (อัดปกติ ใช้เสียงร้องหลายเสียง) ทำไมต้อง Artificial (การมิกซ์ผ่านคอม ปลอมแปลงขึ้นมา) เพราะในกรณีที่นักร้องไม่อยู่ มีอัดเสียงไว้เสียงเดียว เราจะทำยังไงให้กว้าง หนา ก้อง ซึ่งต้องใช้ Artificial Mix นี่เอง

1. Time Based Effect

คือ Effect ที่จัดการเรื่องตำแหน่งเวลาของเสียง เช่น Delay, Reverb

สิ่งสำคัญที่ Professional ทำคือ จะไม่ใช้แค่ Wet/dry ใน track เดียว แต่จะ send ไปอีก track เนื่องด้วยจะได้ไม่ต้องไปทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงใน track เสียงหลัก และสามารถเพิ่มลด effect ใน FX track ได้อย่างไม่มีปัญหา และรบกวน Original Track

ในตัวอย่าง มี 8 tracks เสียงร้อง "วิธีที่มีประสิทธิภาพ"คือ ส่ง 8 tracks ออก Aux track (หรือ Group) แล้ว Send ไปยัง FX Track Reverb ที่ตั้งไว้ 100%wet

โดยจะทำให้สามารถปรับ ค่า send ไปยัง reverb ของเสียงทั้งหมดเท่ากัน ซึ่งจะทำให้เป็นแบบ Parallel

ในตัวอย่างยังมีแทรกการ send ไปยัง Delay เพิ่มเติมไปด้วย (การทำให้ Delay เฉพาะคำท้ายของวรรค ใช้การปรับค่า Send ขึ้นเฉพาะท้ายวรรค ใช้ automation)

2. Artificial Widening

จะไม่เหมือน Doubling แต่จะเป็นการใช้เสียงเดิม แต่อีก track ทำการเลื่อนไปอีกนิดหน่อย เช่น 1 ms จะทำให้เกิดเสียงแปลกๆเป็น Comb Filter (ไว้ตรงกลาง)...

แต่ถ้าเราเอาแต่ละ Track ไว้คนละข้าง จะทำให้เกิด Artificial Widening ซึ่งสมองเราจะแยกไม่ออกว่าเสียงเวลาต่างกัน (1ms - 30 ms) จะทำให้เกิดความกว้างขึ้น

ตัวอย่าง ใช้ Track เสียงที่ต้องการส่ง Group แล้ว Send ไปยัง Effect Delay ปรับไม่เกิด 30ms โดยใช้การลองปรับดู โดย Original จะ Pan ไปข้างนึง แล้ว FX Delay Track อีกด้านนึง ลองเล่นแล้วค่อยๆเพิ่มค่า Send จน โอเค

3. Artificial Doubling Overview

ใช้การ Delay เกิน 30ms ไปจนถึง 60 ms ถ้าไว้ Pan คนละข้างจะรู้สึกถึงความเป็น Ping-Pong ไปมา แต่ถ้าไว้ "ตรงกลาง"(Double ต้องไว้ตรงกลางทั้งคู่) จะได้เสียงที่ซ้อนๆ ประหลาดๆ ซึ่งถ้าทำให้เสียงดัง เบา ต่างกัน ให้เสียงร้องหลักเด่นขึ้นมา ส่ง Send ไปยัง Delay เบาลงหน่อย ก็จะได้ Artificial Doubling ซึ่งสามารถใช้ในการ enhance ส่วนที่ต้องการ หรือ Chorus ได้ ทำให้เสียง Full

แนะนำให้ใช้ Natural Double

4. Slapback

ใช้มากใน Rock ยุคเก่า Elvis, John Lennon และอีกมากมาย

คือเหมือน Double อยู่ตรงกลาง แต่ให้ Delay เกิน 60 ไปถึง 100 ms (ถ้าแยก pan จะ delay เยอะไปจนรู้สึกว่าเป็นคนละเสียงกัน มีประโยชน์ถ้าจะเอาไปทำ effect แปลกๆ)

5. Echo

Echo เป็นอีก effect ที่สามารถทำให้เสียงเราอยู่ตรงจังหวะเพลงได้

ระยะเวลา Quarter Note (ms) = 60000/tempo

ใช้ Delay ส่งค่าเป็นจังหวะ Quarter, Eighth, sixteenth note ทำให้เป็น Echo โดยที่เหมาะสมคือให้ Echo ตอนจบวรรค โดยการใช้ automation ในการส่งให้ส่งเฉพาะตอนท้ายวรรค (ส่วนใหญ่จังหวะใน Delay เปลี่ยนตามจังหวะที่ set ใน DAW ได้)

6. Mono and Stereo Delay

ทำยังไงให้ Delay เป็น Stereo Delay ... รับรู้ถึง Delay จากซ้ายและขวา ความกว้าง

พูดง่ายๆก็คือ Delay เหมือน Echo ไว้ทั้งทางซ้ายทั้งขวา เช่น Delay ไปทางซ้าย 500 ms ทางขวา 500 ms แล้วทำเหมือน widening ให้ซ้ายขวาต่างกัน 1ms แต่ < 30ms เช่น 501,500 ms ก็จะเกิด Delay

ในตัวอย่างใช้ Send ไป FX Stereo track ที่เป็น stereo delay (pan ซ้ายขวาสุด) แล้วปรับให้ delay 2 ด้านต่างกันแบบ widening โดยในตัวอย่างมีการใช้ Groove ที่มีอยู่ใน Delay คือ บวกลบ % ที่จะให้ต่างกันเข้าไป แทนการเซ็ต delay time ให้ต่างกันเอง

7. Reverb

คือเสียงที่สะท้อนไปมาบนห้อง หรือสภาพแวดล้อม มีสิ่งที่ใช้เรียก เรียกว่า RT60 หรือก็คือ ระยะเวลาที่เสียงจะสะท้อนลดลงไป 60db

เป็นสิ่งที่มักจะใช้เกินความจำเป็น ซึ่งไม่เสียหาย แต่ก็มีการลดหลั่นเรื่องของการออกเสียงต่างๆให้ชัดน้อยลงด้วย

ควรใช้ reverb set ให้พอดีกับจังหวะเพื่อใช้ควบคุมให้ลากยาวเพียงพอ เช่น ต้องการให้ Snare ก้องไปอีก 1 ลูก snare ก็ต้องปรับให้ Decay Time (Reverb time หรือ RT60) เป็นเท่าจำนวน beat ที่ต่างกันของ snare พอดี รวมถึง pre-delay ซึ่งจะทำให้เสียง original ออกมาก่อน reverb ก็ควรจะเซต time ให้ตรงกับจังหวะเพลง

ซึ่ง pre-delay ช่วยให้การออกเสียงต่างๆ articulation หรือ consonant ไม่โดน reverb กลบ

8. Additional Effects

พวกนี้ใช้ Delay และมี LFO (Low Frequency Oscillator) ในการเปลี่ยน Delay Time

Flanging  เปลี่ยน delay ไปมาระหว่างประมาณ 3ms - 10ms ทำให้ pitch ขึ้นลง...โดย Flanger จะใช้ LFOมี cyclic movement ประมาณ 5-25 ms

Chorusing ได้เหมือนประมาณ double จัดการที่ time displacement

Phaser คือทำให้ phase ต่างกันโดยใช้ LFO เปลี่ยนไปมา มี cyclic 1-5 ms

ใช้ในการ Hilight ในบางส่วนของเพลง

Phaser คือทำให้ phase ต่างกันโดยใช้ LFO เปลี่ยนไปมา

เทคนิคในการมิกซ์และบันทึกเสียงร้อง

เทคนิคในการมิกซ์และบันทึกเสียงร้อง

รวมเครื่องมือ และเทคนิคต่าง ๆ ในการ Mix และบันทึกเสียงร้อง เพื่อให้ได้เสียงร้องที่มีคุณภาพและเข้ากับเพลงได้มากที่สุด

1. Equalization

Equal Loudness contour หรือ Fletcher-Munson curve เป็นกราฟที่แสดงถึงระดับเสียงในแต่ละความถี่ ที่เราได้ยินความดังจะไม่คงที่ เช่น ที่ระดับเสียงจากลำโพงดัง (dB) เท่ากัน ที่ความถี่ 4k เราอาจจะได้ยินเบากว่า ที่ความถี่ 10k ตามกราฟ

image

ถึงเสียงปกติของคนจะประมาณ 87-1024 hz แต่ว่าก็มี Harmony การ EQ ก็คือปรับตรงส่วน Harmony... ถ้าปรับตาม curve ของ Fletcher-Munson ก็จะได้เสียงที่ฟังธรรมชาติขึ้น

2. Dynamics Processing 

Compressor

ใช้ในการปรับลดเสียงที่ดังเกินลง ไม่มีความต่างกระโชกโฮกฮากจนเกินไป ทำให้สัญญาณที่ดังปรับลดลงมาใกล้เคียงกับสัญญาณที่เบา มีค่าต่างๆ ตั้งแต่

  • threshold
  • ratio (ส่วนใหญ่ 3:1, 4:1)
  • gain reduction ส่วนใหญ่อยู่ที่ -3 ถึง -6 db
  • attack คือค่าระยะเวลาที่จะปรับลด
  • release คือระยะที่จะปรับเท่าเดิม

มี automatic gain ที่ปรับระดับเสียงให้อัตโนมัติ แต่ต้องระวังว่าส่วนไหนที่ไม่ได้ใช้จะเบาไปตอน mix

3. Vocal Mix Placement

การ Mix ตำแหน่งเสียงร้อง

Mix Placement เสียงร้องควรอยู่ตรงกลาง

มีการใช้ HAAS Effect คือการได้ยินเสียงข้างไหนก่อนเสียงอีกข้างจะทำให้รับรู้ตำแหน่งของเสียง ถ้าระยะ Delay น้อยมาก สมองจะเข้าใจว่าเสียงที่ delay อีกข้างจะเป็นเสียงสะท้อนของข้างที่มาถึงก่อน

และ Pan Law คือปรับให้เสียงแต่ละด้านเบาลงเรื่อยๆเมื่อไปอีกด้าน

4. Natural Doubling

ปกติเสียงจะอยู่ตรงกลาง เมื่อเสียงมาพร้อมกัน แต่ถ้าเราทำให้มาไม่พร้อมกัน ความเข้มเสียงต่างกัน จะเกิดการเหลื่อมกัน

เสียงที่ได้จะ กว้าง แห้ง ขึ้นมา โดยวิธีนี้ใช้ในเพลง pop ทั่วไปเพราะมี ambient ใช้การอัดซ้ำอีกรอบ อาจจะใช้ใน pan ซ้ายขวาเพื่อเพิ่มความกว้าง

  • Single Vocal Copied แค่ทำการ copy แล้ว pan ซ้ายขวาไม่ได้ช่วยให้เกิดการ double เพราะจะได้เสียงเหมือนเดิมแค่ดังขึ้น
  • Two Vocals in Phantom Center คนละเสียงกัน (ร้องซ้ำ) แล้วไว้ตรงกลาง มีเฟสต่างกัน ซึ่งเหมาะกับใช้ในการ Doubling
  • Natural Widening - Two Vocals Panned การ Double ร้องสองเสียง แล้วไว้ด้านซ้ายด้านขวา จะทำให้ฟังแล้วดูกว้างขึ้นเหมาะกับการทำ background
  • Three Vocals Center Panned 3 เสียง มีอันนึงไว้ตรงกลาง
  • Four Vocals Panned ซ้าย 2 ขวา 2 ในกรณีที่ซับซ้อนขึ้นอาจเปลี่ยน timbre เป็นอย่างอื่นเช่น Ohhh... Ahhhh แยกกัน
  • Cascaded คือปรับซ้ายขวาไม่สุด ทำให้กระจายๆทั่ว
  • Five Vocals Center Panned Cascaded ทำคอรัส 5 track (โน้ตเดียวกัน คนละเสียง) ซ้ายขวา ๆ มีอันนึงตรงกลาง ทำการปรับ cascade แต่บางทีตรงกลางอาจจะทำให้ เสียงร้องหลักไม่เด่น ควรปรับลดระดับเสียงลง
  • Six Vocals Center Panned Cascaded ทำคอรัส 5 track (โน้ตเดียวกัน คนละเสียง) ซ้ายขวาๆ มีอันนึงตรงกลาง แต่บางทีตรงกลางอาจจะทำให้ เสียงร้องหลักไม่เด่น ควรปรับลดระดับเสียงลง ปรับ cascade ให้ ทั้ง 6 tracks อยู่ทางฝั่งซ้าย 3 ฝั่งขวา 3
  • Four Stack Harmony มี 3 line ประสาน อัดซ้ำ 4 รอบ แล้วนำมาใช้ร่วมกัน (รวม 12 tracks) สามารถปรับ ซ้ายขวาได้ โดย แต่ละชุด(4 tracks) ปรับ left left right right ซึ่ง ถ้าปรับปกติ เสียงต่ำมักจะอยู่ตรงจุดกลาง เสียงสูงอยู่ปลาย ส่วนเสียงปกติอยู่ที่กลางๆ (แต่ก็สามารถปรับทำตรงข้ามได้) 

* ไม่ควรทำเกิน 8 เพราะทำเยอะๆ เกิด phrase cancelling ไม่เกิดอะไรขึ้น

** การนำเสียงไว้ตรงกลางหมด จะทำให้เกิดการซ้ำกันเยอะ จะเกิด beating เสียงจะประสานจนเหมือนเป็นจังหวะกระตุก ควรจะ pan ไว้คนละตำแหน่ง

5. Miking

ทำ widening จาก miking ใช้ 2 ไมค์ ไม่ค่อยใช้ในการร้องเท่าไหร่นักในการทำ widen sterero

Stereo Miking Techniques Coincident

นำไมค์มาวางไขว้กันแบบ X ไมค์ต้องอยู่ตำแหน่งเดียวกันใกล้กัน เพื่อไม่ให้เกิดความต่างของเวลา

สำหรับ Cardioid เรียกวิธีนี้ว่า X-Y Pattern เป็นตัว X แล้วร้องตรงตำแหน่งตัว V ของ X

image

ถ้าเป็นแบบ bi-directianl 2 ด้าน (รูปเลข 8) เรียกว่า Blumlein Microphone technique แบบนี้จะแคบกว่า เพราะ intensity มีทั้งสองด้าน ร้องตรงร่อง X

image

M-S (mid-side) technique ข้างล่างเป็น cardioid ข้างบนเป็น 8 ร้องตรงด้าน cardioid stereo จะ แคบขึ้น

image

Stereo Miking Techniques Near Coincident วางใกล้กัน แต่ไม่ใช่ตำแหน่งเดียวกันเหมือน Coincident

ORTF หัน Cardioid ออกจากกันประมาณ 90-110 องศา

image
image

Faulkner Stereo Mic Technique เหมือน ORTF ในกรณีที่เป็น pattern 8 ปรับองศาน้อยลงให้เหมือนหันหน้ามาหาคนร้องเลยเพราะเป็นแบบ 8 ระยะห่างประมาณ 7 นิ้ว เหมือนระยะหูของคน ใช้ในกรณีที่มีนักร้องคอรัสทั้งสองด้าน

image

Biaural recording หันแบบ Faulkner ใช้ Omni มีอะไรกั้นระหว่างไมค์ ให้เหมือนหัวคน เลียนแบบการได้ยินของคน

แบบ Near Coincident ที่กล่าวมาจะได้ Stereo ที่กว้างกว่า Coincident มักใช้กับกีต้าร์ หรือ เปียโน หรือทำให้เสียงร้องกว้าง

Stereo Miking Techniques Spaced Apart ให้ความ stereo กว้างสุด

Spaced Omni ใช้ใน Omni เว้นห่าง 12 นิ้ว ถ้ากว้างขึ้นกว่านี้เรื่อยๆ จะเกิดช่องว่างตรงกลาง เลยต้องเพิ่มอีกไมค์ตรงกลางเป็น Decca Tree Array

ประเภทของไมค์ ในการบันทึกเสียง

ประเภทของไมค์ ในการบันทึกเสียง

1. Microphone Types

Dynamic mic

ใช้ในงาน Live มีลักษณะเป็น Coil Microphone ที่ตัว diaphragm มีต่อขดลวดรอบแม่เหล็ก พอเสียงผ่านสั่นจึงเปลี่ยนคลื่นเป็นสัญญาณไฟฟ้า (Ribbon mic ก็คล้ายกันแต่จะใช้ อลูมิเนียมชิ้นเล็กหรือโลหะที่รับการสั่นได้แทน coil) พวกนี้ที่นิยมใน Studio คือ Shure SM57... โดยเฉพาะใช้อัดกลอง snare (มีเรื่องเล่าว่า Madonna ใช้ SM57 ในการอัด Like a virgin)

Condenser mic

ใช้แพร่หลายใน Studio แบ่งเป็นสองส่วนคือ ส่วน electric charge กับ ส่วน diaphragm ต่อส่วน amp เปลี่ยนความดันคลื่นเสียงส่งสัญญาณ มีความ sensitive สูง อาจ 20-20000 Hz มีความไวสูง

ไมค์ที่ประเภทแตกต่างกันก็ให้เสียงที่แตกต่างกัน เสียงใส ทึบ อุ่น มี powerful หรือ impactful แตกต่างกัน

2. Polar Patterns

Sensitive area around mic... =  ความไวต่อเสียงในตำแหน่งบริเวณรอบไมค์

มุมที่รับเสียงได้เยอะเรียก on axis position มุมอื่นที่ไม่รับเสียง หรือรับได้น้อยเรียกว่าเป็น off axis position

- Cardioid Pattern มีการป้องกันเสียงด้านหลัง อาจด้วยวิธีทาง electronic หรือ physical barrier กันไว้ ใช้ทั่วไป อัดคนเดียว เพราะเสียงเน้นเข้าด้านเดียว

- Bipolar Pattern มีรับเสียงได้ 2 ด้านเท่ากัน ด้านข้างไม่รับ อาจใช้ในการร้องเพลง Duet

สองอันบนนี้เรียกว่า pressure gradient

- Omni Pattern รับสัญญาณเสียงทุกด้าน เป็น pressure sensitive ในแบบ Cardioid มี barrier ทำให้เสียง plosive เช่น p, b ลมไปติดที่บาเรีย ทำให้เกิดเสียง pop... ถ้าใช้ Omni ที่ปล่อยลมผ่านไปเลยจะไม่เกิดปัญหานี้

อาจมีผสมเป็น Hyper Cardioid, Super Cardioid

ส่วนที่ไม่ได้ยิน หรือได้ยินน้อยเรียกว่า null point ถ้าเลือกไมค์ได้ถูกต้องการใช้งานก็ดี ไมค์บางตัวสามารถปรับ patttern ได้

3. PreAmps/Mic-Line Level

ในการอัดเพลงมีตัวแปรมากมาย ที่ทำให้เสียงแตกต่างกันออกไป การลดตัวแปรเหล่านั้นให้น้อยลงทำให้ยิ่งเหมือน transparent จะยิ่งดี

ไมค์ต่างๆมีสัญญาณออกน้อยมาก จำเป็นต้องมี PreAmps... เพื่อเพิ่มระดับเสียง แล้วก็มี +4 db เป็น professional level... -10 db เป็น commercial level

ไม่ว่าอย่างไรก็ตาม อย่าไปพึ่งอุปกรณ์เยอะมากมาย เพราะสิ่งที่จำเป็นในการ record จริง ๆ คือ การร้องของนักร้อง อุปกรณ์เป็นเพียงแค่สิ่งที่ควรแค่สื่อกลางไว้ให้เสียงผ่านไปเฉยๆเลย