แนวทาง SEO ที่ดีที่สุด

เนื้อหาจาก Course Search Engine Optimization (SEO) ของ University of California, Davis ใน Coursera.org

Search Engine ต้องการแสดงผลลัพธ์ที่เกี่ยวข้องกับคำค้นมากที่สุด

สิ่งที่สำคัญที่ต้องทราบคือ Search Engine มีรายได้จาก Ads ที่แสดงขึ้นมาบนหน้า Search ดังนั้นสิ่งที่ Search Engine ต้องการคือการที่ Users จะเข้ามาใช้งานบ่อย ๆ ไม่เลิกใช้และไม่เปลี่ยนไปใช้เจ้าอื่น

Search Engine เลยต้องหาวิธีที่จะตอบสนอง Users ด้วยการ ให้ผลลัพธ์ที่ดี ที่ถูกต้องกับสิ่งที่ Users ค้นหา รวมถึงความเร็ว ความง่าย ความถูกต้อง พูดง่าย ๆ คือ Search Engine จะพยายามส่งมอบสิ่งที่ดีที่สุดให้ Users เพื่อให้ Users ยังกลับมาใช้งานเรื่อย ๆ

Algorithm ของ Search Engine คือวิธีการวัดค่า คำนวณ กระบวนการคิด ที่แต่ละ Search Engine จะนำมาใช้ในการจัดอันดับ นำเสนอให้ได้ผลลัพธ์ที่ดีที่สุดในหน้า Search Engine

Algorithm จะดู Quality (คุณภาพ) ,Theme ของเว็บไซต์, Search Query (คำค้น) และ การแสดงผลว่าจะให้อยู่ตรงไหน โดยจะดูจาก Factors หรือส่วนประกอบต่าง ๆ เช่น ความเร็วเว็บ เนื้อหา ฯลฯ

เนื่องจาก Algorithm มีความซับซ้อนมากมาย หน้าที่ของ SEO คือตัดสินใจว่า Algorithm ตรวจสอบ Factors หรือองค์ประกอบไหนบ้าง บางอันทดสอบแล้วใช่ บางอันทดสอบแล้วยังสรุปผลไม่ได้

สรุป 7 องค์ประกอบที่ใช้ในการจัดอันดับ ที่ศึกษาจากเว็บ moz.com เข้าไปอ่านเต็ม ๆ ได้ที่ 7 Search Ranking Factors Analyzed: A Follow-Up Study

  1. เวลา ในแต่ละ Content จำเป็นที่จะต้องใช้เวลาในการที่จะให้มันจัดอำดับประมาณ 100 วัน ดังนั้นเมื่อสร้าง content แล้วอาจจะต้องอดทนรอดูผลลัพธ์ประมาณ 2-3 เดือน
  2. Link มีส่วนช่วยในการจัดอันดับ
  3. จำนวนคำ อาจจะเป็นปัจจัยที่เรานำมาใช้ในการกำหนด Rank แต่จริง ๆ แล้วอาจจะไม่ได้มีความเกี่ยวข้องกับ Rank โดยตรง เพราะปกติการกำหนด Rank จะดูที่คุณภาพของเนื้อหา ซึ่งถ้าหากคุณภาพของเนื้อหาดี ปกติจะมีจำนวนคำจำนวนมากหรือพอดีอยู่แล้ว ดังนั้นให้ Focus ที่คุณภาพอาจจะดีกว่า
  4. MarketMuse เว็บไซต์ AI ที่ช่วยแนะนำในการทำ content ซึ่งหากทำตามได้เป็นขั้นต่ำ ก็จะช่วยในการจัดอันดับ
  5. On-page SEO การปรับแต่งหน้าเว็บ เนื้อหา keyword อะไรต่าง ๆ ยังเป็นเทคนิคที่ช่วยในการจัดอันดับที่ดี
  6. ความยาวของบทความคู่แข่ง ในหัวข้อเดียวการเขียนที่ยาวกว่าไม่ได้ช่วยอะไรในการที่จะแข่งชนะคู่แข่งเว็บอื่น
  7. จำนวน Keyword ในบทความ (Keyword Density) ไม่ได้มีส่วนสำคัญในการจัดอันดับ

Google Algorithm

  • มี 200+ ranking factors องค์ประกอบในการจัดอันดับกว่า 200 factors
  • มีการเปลี่ยนแปลงอัพเดททุกวัน กว่า 500 ครั้งต่อปี

ทำให้ SEO ต้องทำงานเชิงรุกเพื่อป้องกันการเปลี่ยนแปลงที่ไม่แน่นอน อาจจะทำให้เว็บไซต์อันดับตกได้ทุกเมื่อ โดยการดูการอัพเดทในอดีต เพื่อวิเคราะห์เป้าหมายของ Google ใช้คาดการณ์การเปลี่ยนแปลงในอนาคตได้

สิ่งที่ SEO ต้องทำตาม Google Algorithm

  • ทำเว็บไซต์ให้ดี ง่ายต่อการใช้งาน มี usability ที่ดี
  • ป้องกันการกระทำที่อาจจะโดนลงโทษจาก Algorithm (ควรศึกษาให้ดี)

Google Algorithm Update

ประวัติที่ Google อัพเดท Algorithm ที่สำคัญ (จะมีชื่อในการอัพเดท) เป็นสิ่งที่ SEO ควรรู้ เพื่อใช้ในการการมองหา Pattern รูปแบบในการอัพเดท การพยากรณ์ Predict ว่า Google จะทำอะไรอีก และนำมาวางแผนกลยุทธ์ในการจัดการ

  1. Panda (2011)
    • เน้นไปที่การมองในมุมมอง Users ที่ค้นแล้วเจอเว็บเรา เนื้อหาเราต้องมีประโยชน์ มีคุณค่า เกี่ยวข้องกับสิ่งที่ Search
    • ส่งผลกระทบต่อการแสดงผลลัพธ์ 12%
    • เน้นไปที่เว็บที่มี User Experience
    • คุณภาพเนื้อหาหรือเว็บต่ำจะโดนตัดทิ้ง เนื้อหาที่มีการซ้ำ ไม่มีคุณภาพ หรือใช้การ Generate ขึ้นมาจะโดนตัดทิ้ง เว็บเนื้อหาที่จะโดนลงโทษ เช่น
      • Auto-Generated
      • Squeeze Pages (1 หน้ามีทุกอย่าง)
      • Doorway Pages (เพจไว้เพื่อ Search Engine เช่น หน้าเว็บที่จัดอันดับ สิ่งต่าง ๆ)
      • Meta-Refresh เข้าไปแล้ว Refresh ไปหน้าอื่น
      • Bad Guest Posts
    • หน้า pages ที่ติดโฆษณาเยอะ จะโดนตัดคะแนน
    • เว็บที่มีเนื้อหาที่ไม่มีความเกี่ยวข้องกันเยอะจะโดนตัดคะแนน เช่น เว็บที่เนื้อหาจับฉ่ายจนเกินไป
    • เลือกเนื้อหาที่ถูก Target มากขึ้น
  2. Penguin (2012)
    • เน้นจัดการเรื่องสแปม ลิงก์สแปม พวก Black Hat SEO ลิงก์ที่มีการซื้อมา ดูไม่เป็นธรรมชาติ
  3. Hummingbird (2013) และ RankBrain (2015)
    • เน้นไปที่การ Semantic indexing คือการที่พยายามจะจัดการหาความหมายใกล้เคียง หรือความหมายเหมือนกันต่าง ๆ เพื่อให้เหมือนการค้นหาของคนมากขึ้น เช่น ถ้าเว็บไซต์เกี่ยวกับ Baseball ก็จะมีการเกี่ยวข้องกับคำว่า Home run และศัพท์อื่น ๆ ในการเล่น Baseball ไปด้วย
  4. Mobilegeddon (2015) และ Mobile-first (2018)
    • เน้นไปเรื่องการใช้งานบนมือถือ Mobile Friendliness ต้องใช้งานได้ทุก platform โดยเฉพาะมือถือ
  5. อื่น ๆ
    • Personalized Search
    • Caffeine - ดูที่ความเร็วเว็บ
    • Voice Search
    • Local Search

สรุป Alogrithm

จะเห็นว่าที่ผ่านมา อัพเดทจะมีในเรื่อง User-friendly ผู้ใช้สามารถใช้ได้ง่าย และ Google พยายามทำความเข้าใจผู้ใช้มากขึ้น เราจึงจำเป็นต้องมองหาเทคนิคต่าง ๆ ที่ส่งผลต่อการใช้งานที่ดี เช่น UX ความเร็ว หรือเนื้อหาที่ใช่สำหรับผู้ใช้ โดยวิเคราะห์ถึง ความต้องการ ความตั้งใจในการค้นหา

Best Practices

แนวทางที่ดีที่สุดในการทำ SEO

  1. High quality content คือการสร้างเนื้อหาที่มีคุณภาพสูง
  2. เนื้อหาที่มีประโยชน์ ตรงตามความต้องการของผู้ใช้งาน
  3. Homepage = Authority หรือเป็นหน้า Homepage เป็นหน้าที่แสดงตัวตน ความน่าเชื่อถือที่สุด เหมือนเป็นแบรนด์ที่นำเสนอต่อผู้ใช้งาน เสนอข้อมูลต่าง ๆ ว่าเว็บเรามีอะไร
  4. Authority = Ranking ยิ่งเนื้อหาน่าเชื่อถือ เป็นเจ้าของเนื้อหาเอง และเป็นประโยชน์ต่อผู้ใช้ Search Engine จะยิ่งจัดอันดับให้เราดีขึ้น
  5. Outside links เพิ่ม Authority ลิงก์จากภายนอกที่ลิงก์มาหาเราจะช่วยเพิ่ม Authority ให้เราได้ ยิ่ง Link มาจากเว็บไซต์ที่มีคุณภาพเท่าไหร่ยิ่งดี
  6. หน้าเว็บต้องสามารถมองเห็นได้ในการเสิร์ช ต้องระวังการ block robot หรือควรนำเว็บไซต์ไปสมัครใน Google Search Console
  7. Hierarchy หรือแผนผังเว็บต้องเข้าใจง่าย เข้าถึงได้ง่าย และถูกต้อง

สรุปโดยรวมเน้นความมี Authority คือ

  • เนื้อหาจะต้องดี คุณภาพดี
  • มี Link คุณภาพดี จากเว็บที่คุณภาพดี เปรียบเหมือนเราสร้างเนื้อหาที่มีคนชื่นชอบและแชร์ไปจริง ๆ
  • มีการจัดการเว็บไซต์ที่ดี ความเร็ว การเข้าใช้งาน ความชัดเจนของเนื้อหาภาพรวมของเว็บ

อย่างไรก็ตาม Algorithm ของ Google ยังมีที่ไม่ได้ Public หรือเปิดเผยอยู่มาก เลยต้องติดตามจากกลุ่ม SEO ต่าง ๆ ที่มีการศึกษาตลอดเวลา

Ranking Factors

ปัจจัยในการจัดอันดับ ซึ่งจะหากเราจัดการให้ดีจะสามารถช่วยให้อันดับเว็บไซต์เราดีขึ้นได้ แบ่งออกเป็น

  1. On-Page เนื้อหาบน Page
    • Title Tags
    • การใช้ Keyword
    • การจัดวาง Keyword
    • การใช้ Heading
    • คุณภาพของ Content
    • ความของของ Content
    • ความอัพเดทของ Content
  2. Off-Site
    • Link ภายใน (Inbound Links)
    • Link ภายนอก (Outbound Links)
    • Brand Mentions
    • Social Engagement
  3. Domain (ด้าน Technical ก็อยู่ในส่วนนี้)
    • TLD (Top Level Domain) ชื่อโดเมน
    • ประวัติ Domain
    • การสมัคร Domain
    • EXD (Exact match)
    • Site Speed (ความเร็วหน้าเว็บ)
    • Site Structure (โครงสร้างเว็บ)
    • User Engagement