การตรวจสอบ Content ของเราเอง (Internal Content Audit)

เนื้อหาเรื่อง SEO จาก Course Optimizing a Website for Google Search ของ University of California, Davis ใน Coursera.org

เป็นขั้นตอนในการตรวจสอบ Content ภายในเว็บไซต์ของเราว่ามีคุณภาพแค่ไหน มีอะไรต้องปรับปรุง เพิ่มเติมเพื่อให้ตรงกับเป้าหมายในการทำ SEO ที่เราต้องการ โดยอ้างอิงจาก Keyword และการวิเคราะห์คู่แข่งในหัวข้อที่ผ่านมา

เป็นขั้นตอนที่ใช้เวลาค่อนข้างนาน และอาจจะต้องทำตลอดเพราะต้องมีการตรวจสอบตลอดเวลา และหากเป็นเว็บไซต์ขนาดใหญ่ยิ่งวิเคราะห์นาน

ขั้นที่ 1 ตั้งคำถามเกี่ยวกับ Content ของเรา

การตั้งคำถามและใช้คำถามมาเป็นประเด็นในการพัฒนาเว็บของเรา เช่น

  1. เว็บไซต์ของเรา Page ของเรา ดึงดูดคนเข้ามารับชมรึไม่ มีรูปภาพที่เหมาะสมรึยัง?
  2. มีการ Link ไปถึงกันในทุก Page รึยัง?
  3. มีการ Link ไปเว็บไซต์ภายนอกที่เหมาะสม และดูเป็นธรรมชาติรึยัง?

ขั้นที่ 2 ระบุขอบเขตในเว็บเราที่เราจะวิเคราะห์

ให้เราเลือกจาก Pages ที่มีข้อมูลอยู่แล้วพร้อมที่จะวิเคราะห์ เช่น Page ที่มีคนเข้าถึงอยู่แล้ว มี Traffic อยู่แล้ว ซึ่งจะทำให้เรามีข้อมูลในการวิเคราะห์เพื่อพัฒนาปรับปรุงให้ดีขึ้น

การดูข้อมูลต่าง ๆ เพื่อตรวจสอบและประเมิน โดยอาจจะดูข้อมูลจาก Google Analytics ให้เน้นดูที่ Organic โดยควรใช้ข้อมูลย้อนหลังประมาณ 6 เดือน ให้ดู Behavior -> Landing Pages -> เลือก medium เป็น organic

นอกจากนี้เรายังดูคร่าว ๆ โดยการ Sort เรียงตาม Sessions เพื่อวิเคราะห์ว่า Page ไหนที่ควรพัฒนาต่อได้

ขั้นที่ 3 จัดการและประเมิน Content ในเรื่องต่าง ๆ

ส่วนหลัง ๆ ที่เราจะต้องประเมินในแต่ละหน้า Pages มีดังนี้

  1. Seasonality : เป็น Content ที่ขึ้นกับช่วงเวลา คนค้นหาตามช่วงเวลา เช่น ซานต้า ที่เกี่ยวพันกับช่วงเวลา คริสต์มาส
  2. Content Type : หรือประเภทของ Content เช่น เป็นลักษณะ Text, Infographic, Video หรืออย่างอื่น
  3. มีรูปภาพหรือไม่ : ซึ่งถ้าเป็น Content ที่มีแต่ Text เราก็อาจจะนำไปพัฒนาเพิ่มรูปได้
  4. Internal & External Links : มี Links ที่เชื่อมโยงกับ Page ภายในเว็บเราและอ้างอิงสู่เว็บภายนอกหรือไม่ แล้วคุณภาพการใส่ link เป็นแบบใด เป็นธรรมชาติหรือไม่?
  5. Post Type : หรือประเภทของบทความ เป็นบทความทั่วไป หรือ How to หรือเป็นหน้าขายของ หรือประเภทอื่น ๆ
  6. Target (Direct/Indirect) : Page นี้ที่เรากำลังตรวจสอบมีเนื้อหาที่มีเป้าหมายตรงกับเป้าหมายของเว็บมั้ย เช่น เว็บไซต์ขายเสื้อ Page ขายเสื้อก็จะเป็น Direct คือขายตรง ๆ แต่ถ้าเป็น Page แนะนำแฟชั่นก็คือเป็น Page ที่ Support เป็นแบบ Indirect
  7. Category : เนื้อหาอยู่ Category ไหน
  8. Call to action : เนื้อหามีการกระตุ้น ให้ผู้อ่านหรือผู้ชมมีการกระทำ action อะไรหรือไม่ เช่น เป็นหน้าให้กด Subscribe ซึ่งทุกหน้าควรจะมีเพื่อให้ผู้ชมได้มี action กับเรา
  9. Notes : เป็น Comment หรือคำแนะนำรายละเอียดเพิ่มเติมสำหรับ Page นี้ในการพัฒนา

เมื่อเราได้รายละเอียดการตรวจสอบเรียบร้อยแล้ว เราจะรู้ว่าจุดไหน Page ไหนยังขาดอะไร สามารถปรับปรุงพัฒนาอะไรได้แบบไหน ซึ่งจริง ๆ เราสามารถวิเคราะห์เทียบกับ การวิเคราะห์คู่แข่ง เพื่อที่เราจะได้เปรียบเทียบได้

ขั้นที่ 4 กำหนดกลยุทธ์ในการปรับปรุง Content

เราต้องตั้งเป้าหมายในการจัดการปรับปรุง Content โดยให้ยึดสิ่งเหล่านี้

  1. เดินหน้าตามเป้าหมายเพื่เพิ่ม Organic Search
  2. สร้าง Brands เพื่อแนะนำให้แก่ผู้ใช้งานใหม่
  3. เพิ่ม Engage กับผู้ใช้งาน ไม่ว่าจะเป็นการเข้าเว็บและการใช้เวลาอยู่บนเว็บ
  4. สร้าง Content ที่สามารถแชร์ต่อได้ ไม่ว่าจะเป็นแบบปากต่อปาก หรือบน Social network เพื่อสร้าง Brand ให้เป็นที่รู้จัก
  5. เพิ่มความน่าเชื่อถือและความภักดีต่อเว็บเรา
  6. Content คือสิ่งสำคัญ การสร้าง Content ควรเน้นเนื้อหาที่ดี เกี่ยวกับเว็บไซต์ของเรา ไม่ควรเขียนเนื้อหาทั่วไป หรือหลากหลายมากจนเกินไป
  7. ควรระบุเป้าหมายหรือกลยุทธ์ ทั้งเว็บไซต์ เพื่อให้ทั้งเว็บไซต์ไปในทิศทางเดียวกัน

ทั้งนี้เป้าหมายทั้งหมด และกลยุทธ์โดยสรุปคือ ให้เน้นสร้าง Brand สร้าง Content ที่ดีและไม่หลากหลายจนเกินไป