อนาคตของ SEO
เนื้อหาจาก Course Search Engine Optimization (SEO) ของ University of California, Davis ใน Coursera.org
หัวข้อสำคัญ ปัจจัยต่าง ๆ ที่ Google จะใช้ในการจัดอันดับ
Core Web Vitals
Google จัดอันดับจากประสบการณ์การเข้าใช้งานเว็บไซต์ (User Experience) ยิ่งเว็บไหนที่ทำให้ผู้ใช้มีประสบการณ์การใช้ที่ดี ก็ยิ่งดี
Real-World Experience Metrics (ตัวชี้วัดประสบการณ์การใช้งาน)
- Page load time
- Site stability
- Site security (https)
- Intrusive interstitials (pop-ups)
หากมีการใช้งาน Google Search Console แล้ว สามารถใช้งานใน Core Web Vital เพื่อดูเกณฑ์ต่าง ๆ ว่าต้องแก้ไขส่วนไหนได้ หรือสามารถใช้ Google Lighthouse ซึ่งเป็น Chrome extension ในการดูว่าประสิทธิภาพไหนที่บกพร่อง และดูวิธีการแก้ไขได้
EAT & YMYL
YMYL ย่อมาจาก Your money, your life จะส่งผล Effect กับหน้าเว็บไซต์ที่เกี่ยวกับ สุขภาพ ความสุข ความปลอดภัย การเงิน ซึ่งเป็นสิ่งสำคัญกับชีวิตคน จะถูกจัดเป็น Y M Y L pages เช่น
- เว็บที่มีการทำ transaction หรือจ่ายเงิน
- Financial - เว็บแนะนำแนะนำ การลงทุน การเกษียณ วางแผนการเงิน ภาษี ฯลฯ
- Legal - แนะนำเรื่องกฎหมาย การหย่า แต่งงาน ฯลฯ
- Official information - กฎระเบียบ ภัยพิบัติ ราชการ รัฐบาล อะไรที่เป็นข่าวสารทางการ
- อื่น ๆ เช่น การรับเลี้ยงบุตร ความปลอดภัยรถยนต์ การขับขี่
EAT ย่อมาจาก Expertise, Authority, Trust เป็นเกณฑ์ที่ใช้ดูความน่าเชื่อถือของเว็บไซต์
- Expertise ผู้เขียนในเว็บไซต์เป็นผู้เชี่ยวชาญในหัวข้อนั้นจริงรึเปล่า เช่น เขียนบทความเรื่องสุขภาพ โดยแพทย์ก็จะมีความน่าเชื่อถือ แนวทางมีดังนี้
- เขียนบทความที่มีคุณภาพ
- มี About page ที่ให้ credit
- มีหน้าลิงก์ผู้เขียนบทความ (Author bio pages)
- การมีรีวิว มีผู้อื่นที่เขียนและพูดถึงเว็บไซต์จะช่วยเพิ่มความเชี่ยวชาญได้ด้วย
- Authority เนื้อหาที่เขียนในเว็บ เป็นของเว็บหรือผู้เขียนคนนี้จริงมั้ย Google จะดูจากหลักฐานต่าง ๆ ว่าเว็บไซต์อื่น ๆ มีการพูดถึงเว็บเราแบบไหน มีแนวทางดังนี้
- การที่มีลิงก์ หรือการกล่าวถึงจากเว็บไซต์อื่นต่าง ๆ ที่น่าเชื่อถือ เช่น เว็บดัง ๆ เว็บข่าว เขียนถึงเว็บเรา
- content และเว็บของเรามีการแชร์ต่อไปเรื่อย ๆ ยิ่งจำนวนมากยิ่งดี
- มีการค้นหาแบรนด์เว็บไซต์เราจำนวนมาก
- มี Wikipedia หรือเว็บไซต์ที่พูดถึงเกี่ยวกับเรา
- Trust ความน่าเชื่อถือของเนื้อหาและเว็บไซต์ มีหลักฐานอ้างอิง มีการพิสูจน์ที่ถูกต้องหรือไม่ว่าเป็นแหล่งที่มาที่ถูกต้อง เพื่อให้ข้อมูลมีความถูกต้องและน่าเชื่อถือ มีแนวทางดังนี้
- ข้อมูลติดต่อถูกต้องและชัดเจน
- มี policies, term and conditions อะไรที่ชัดเจน
- มี HTTPS
- Google จะดูเพิ่มเติมหากมีการพูดคุยหรือกล่าวถึงเว็บไซต์ เช่น comment ว่าเป็นไปในเชิงบวก หรือเชิงลบ
- ดูการรีวิว
สามารถดูรายละเอียด Guildline เพิ่มเติมในการเข้าเกณฑ์ E A T ได้ตามลิงก์นี้ Ultimate E-A-T Factor Checklist
Featured Snippets and Rich Snippets
เกิดจากที่ Google พยายามแก้ปัญหาให้ผู้ใช้งานให้ได้เร็วมากขึ้น ตอบคำถามที่ผู้ใช้ค้นหาให้เร็วมากขึ้น ในส่วนนี้อาจจะมีการเปลี่ยน Algorithm ในอนาคต
- Featured Snippets
- ขึ้นมาที่ Position 0 คืออันแรกของผลลัพธ์การค้นหา และคัดแสดงส่วนในหน้าเว็บที่เป็นคำตอบในการค้นหาออกมาให้ผู้ใช้งานเห็นเลยในทันที และยังสนับสนุน การค้นหาด้วยเสียง ผ่านอุปกรณ์ต่าง ๆ ของ Google เช่น Google Home จะทำให้ Google สามารถตอบคำถามได้โดยไม่ต้องเข้าไปที่เว็บ
- ข้อดี ดีต่อ brand หรือต้องการการค้นหาด้วยเสียง
- ข้อเสีย อาจจะทำให้ผู้ใช้ได้คำตอบเลยโดยไม่เข้าไปที่หน้าเว็บไซต์เต็ม ๆ ของเรา ทำให้เสียโอกาสในการจัดอันดับหน้าลิงก์เว็บปกติไปอีกด้วย
- Rich Snippets or Results
- ข้อแตกต่างคือจะเป็นคำตอบ ที่มีรายละเอียดเพิ่มเติม ได้แก่ Star ratings, Data, และ Navigation ที่คลิกต่อได้ เช่นรายละเอียด เมนูอาหาร ขั้นตอนการทำ เวลาในการทำ rating ปริมาณแคลอรี่
ความสำคัญของ CTR (Clickthrough rate)
การที่คน Click เข้าเว็บเราจาก Google จะส่งผลสำคัญต่อสิ่งเหล่านี้
- Query Type ประเภทคำค้นของเว็บไซต์เรา
- Target audience behavior พฤติกรรมของคนเข้าชม
- Specific industry จำแนกประเภทของเว็บไซต์ว่าอยู๋ในหมวดไหน
- Type of featured snippet จำแนกประเภทของ featured snippet
- Position ตำแหน่งที่แสดงบน Google
ซึ่งการมี Snippet ทำให้คน CTR น้อยลง
ควรทำ Featured Snippet ดีมั้ย
ต้องดูว่าเป้าหมายของเว็บไซต์คืออะไร เพราะจะมีส่วนช่วยให้ชื่อเว็บไซต์ขึ้นไปอยู่ Position 0 ในส่วน Snippet ได้ หากต้องการสร้าง Brand ให้คนรู้จัก Brand หรือเป็นเว็บไซต์ที่ต้องการเผยแพร่ข่าวสารเช่น เว็บไซต์ทางการ ก็เป็นเรื่องดี แต่ถ้าหากคาดหวังการเข้าเว็บไซต์ ก็อาจจะไม่เหมาะ
การทำ Snippet ต้องทำ Schema
เป็นการระบุโครงสร้างของข้อมูลใน Website ศึกษาได้จากเว็บ schema.org ซึ่งจะต้องนำมาปรับใช้กับ Code ในเว็บ และใช้ข้อมูล JSON หรือ Mark up ที่เหมาะกับเว็บไซต์