การตรวจสอบ Content ของเราเอง (Internal Content Audit)
เนื้อหาเรื่อง SEO จาก Course Optimizing a Website for Google Search ของ University of California, Davis ใน Coursera.org
เป็นขั้นตอนในการตรวจสอบ Content ภายในเว็บไซต์ของเราว่ามีคุณภาพแค่ไหน มีอะไรต้องปรับปรุง เพิ่มเติมเพื่อให้ตรงกับเป้าหมายในการทำ SEO ที่เราต้องการ โดยอ้างอิงจาก Keyword และการวิเคราะห์คู่แข่งในหัวข้อที่ผ่านมา
เป็นขั้นตอนที่ใช้เวลาค่อนข้างนาน และอาจจะต้องทำตลอดเพราะต้องมีการตรวจสอบตลอดเวลา และหากเป็นเว็บไซต์ขนาดใหญ่ยิ่งวิเคราะห์นาน
ขั้นที่ 1 ตั้งคำถามเกี่ยวกับ Content ของเรา
การตั้งคำถามและใช้คำถามมาเป็นประเด็นในการพัฒนาเว็บของเรา เช่น
- เว็บไซต์ของเรา Page ของเรา ดึงดูดคนเข้ามารับชมรึไม่ มีรูปภาพที่เหมาะสมรึยัง?
- มีการ Link ไปถึงกันในทุก Page รึยัง?
- มีการ Link ไปเว็บไซต์ภายนอกที่เหมาะสม และดูเป็นธรรมชาติรึยัง?
ขั้นที่ 2 ระบุขอบเขตในเว็บเราที่เราจะวิเคราะห์
ให้เราเลือกจาก Pages ที่มีข้อมูลอยู่แล้วพร้อมที่จะวิเคราะห์ เช่น Page ที่มีคนเข้าถึงอยู่แล้ว มี Traffic อยู่แล้ว ซึ่งจะทำให้เรามีข้อมูลในการวิเคราะห์เพื่อพัฒนาปรับปรุงให้ดีขึ้น
การดูข้อมูลต่าง ๆ เพื่อตรวจสอบและประเมิน โดยอาจจะดูข้อมูลจาก Google Analytics ให้เน้นดูที่ Organic โดยควรใช้ข้อมูลย้อนหลังประมาณ 6 เดือน ให้ดู Behavior -> Landing Pages -> เลือก medium เป็น organic
นอกจากนี้เรายังดูคร่าว ๆ โดยการ Sort เรียงตาม Sessions เพื่อวิเคราะห์ว่า Page ไหนที่ควรพัฒนาต่อได้
ขั้นที่ 3 จัดการและประเมิน Content ในเรื่องต่าง ๆ
ส่วนหลัง ๆ ที่เราจะต้องประเมินในแต่ละหน้า Pages มีดังนี้
- Seasonality : เป็น Content ที่ขึ้นกับช่วงเวลา คนค้นหาตามช่วงเวลา เช่น ซานต้า ที่เกี่ยวพันกับช่วงเวลา คริสต์มาส
- Content Type : หรือประเภทของ Content เช่น เป็นลักษณะ Text, Infographic, Video หรืออย่างอื่น
- มีรูปภาพหรือไม่ : ซึ่งถ้าเป็น Content ที่มีแต่ Text เราก็อาจจะนำไปพัฒนาเพิ่มรูปได้
- Internal & External Links : มี Links ที่เชื่อมโยงกับ Page ภายในเว็บเราและอ้างอิงสู่เว็บภายนอกหรือไม่ แล้วคุณภาพการใส่ link เป็นแบบใด เป็นธรรมชาติหรือไม่?
- Post Type : หรือประเภทของบทความ เป็นบทความทั่วไป หรือ How to หรือเป็นหน้าขายของ หรือประเภทอื่น ๆ
- Target (Direct/Indirect) : Page นี้ที่เรากำลังตรวจสอบมีเนื้อหาที่มีเป้าหมายตรงกับเป้าหมายของเว็บมั้ย เช่น เว็บไซต์ขายเสื้อ Page ขายเสื้อก็จะเป็น Direct คือขายตรง ๆ แต่ถ้าเป็น Page แนะนำแฟชั่นก็คือเป็น Page ที่ Support เป็นแบบ Indirect
- Category : เนื้อหาอยู่ Category ไหน
- Call to action : เนื้อหามีการกระตุ้น ให้ผู้อ่านหรือผู้ชมมีการกระทำ action อะไรหรือไม่ เช่น เป็นหน้าให้กด Subscribe ซึ่งทุกหน้าควรจะมีเพื่อให้ผู้ชมได้มี action กับเรา
- Notes : เป็น Comment หรือคำแนะนำรายละเอียดเพิ่มเติมสำหรับ Page นี้ในการพัฒนา
เมื่อเราได้รายละเอียดการตรวจสอบเรียบร้อยแล้ว เราจะรู้ว่าจุดไหน Page ไหนยังขาดอะไร สามารถปรับปรุงพัฒนาอะไรได้แบบไหน ซึ่งจริง ๆ เราสามารถวิเคราะห์เทียบกับ การวิเคราะห์คู่แข่ง เพื่อที่เราจะได้เปรียบเทียบได้
ขั้นที่ 4 กำหนดกลยุทธ์ในการปรับปรุง Content
เราต้องตั้งเป้าหมายในการจัดการปรับปรุง Content โดยให้ยึดสิ่งเหล่านี้
- เดินหน้าตามเป้าหมายเพื่เพิ่ม Organic Search
- สร้าง Brands เพื่อแนะนำให้แก่ผู้ใช้งานใหม่
- เพิ่ม Engage กับผู้ใช้งาน ไม่ว่าจะเป็นการเข้าเว็บและการใช้เวลาอยู่บนเว็บ
- สร้าง Content ที่สามารถแชร์ต่อได้ ไม่ว่าจะเป็นแบบปากต่อปาก หรือบน Social network เพื่อสร้าง Brand ให้เป็นที่รู้จัก
- เพิ่มความน่าเชื่อถือและความภักดีต่อเว็บเรา
- Content คือสิ่งสำคัญ การสร้าง Content ควรเน้นเนื้อหาที่ดี เกี่ยวกับเว็บไซต์ของเรา ไม่ควรเขียนเนื้อหาทั่วไป หรือหลากหลายมากจนเกินไป
- ควรระบุเป้าหมายหรือกลยุทธ์ ทั้งเว็บไซต์ เพื่อให้ทั้งเว็บไซต์ไปในทิศทางเดียวกัน
ทั้งนี้เป้าหมายทั้งหมด และกลยุทธ์โดยสรุปคือ ให้เน้นสร้าง Brand สร้าง Content ที่ดีและไม่หลากหลายจนเกินไป