แต่งเพลงยังไงไม่ให้คนฟังเบื่อ
สวัสดีครับ สำหรับในตอนที่ 3 นี้ผมจะจะพูดถึง ความสำคัญของไดนามิค หรือ การเคลื่อนไหวเปลี่ยนแปลง ในการ แต่งเพลง ผมเคยดูรายการประกวดร้องเพลงของเกาหลีรายการนึงคือ SBS K pop star ครับซึ่งมีกรรมการคือ JYP (ปาร์คจินยอง) ที่เป็นเจ้าของค่าย JYP ผู้ปั้น Rain, 2PM นั่นแหละครับ เวลา comment ผู้เข้าประกวดนั้น มักจะชอบวิจารณ์ "การจัดการในการร้อง" หรือ การ Arrange เพราะถ้าไม่จัดการให้ดีพอฟังไปก็อาจจะ "เบื่อ" ได้ บางคนก็เนือยๆเบื่อตั้งแต่เริ่ม บางคนใส่เต็มตั้งแต่รอบแรกของเพลงก็เบื่อในรอบสองเพราะไม่มีอะไรใหม่ ซึ่งในการแต่งเพลงก็ไม่ต่างกัน
ทำไมเราต้องสนใจความ "เปลี่ยนแปลง" ความคิดใหม่ๆเป็นสำคัญ...ต้องอย่าลืมว่า เพลง คือสื่อที่ใช้เป็นสื่อกลาง เป็นสื่อข้อมูล ส่งจากศิลปิน ไปให้ "ผู้ฟัง" รับรู้ สิ่งสำคัญคือ "ผู้ฟัง" ฟังแล้วจะรู้สึกอย่างไรเป็นสำคัญ ถ้าเราแต่งเพลงเนือยๆ เรื่อยๆ ไม่มีการเปลี่ยนแปลงใดๆ ผู้ฟังก็จะเบื่อได้ ฟังไม่จบเพลง
กราฟแสดงการเปลี่ยนแปลงในแต่ละท่อนแบบทั่วไปที่สังเกตเห็น คือ เริ่มมาอารมณ์หรือเนื้อหาเบาๆ แล้วค่อยๆสูงขึ้น พอรอบสองก็ลดระดับมาที่ท่อนธรรมดา แล้วจึงสูงขึ้นเรื่อยจนจบ |
แต่งเพลง ยังไงไม่ให้น่าเบื่อ!?
การทำให้ผู้ฟังสนใจฟังเพลงเราไปจนจบเพลง ก็คือ ต้องแต่งเพลงโดยมีการเปลี่ยนแปลงอยู่เรื่อยๆให้ น่าติดตาม ในส่วนนี้ระดับความเปลี่ยนแปลง ระดับไดนามิคนั้นขึ้นอยู่กับแนวเพลง พูดในเชิง "เนื้อเพลง" ความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นก็เกิดที่เนื้อหา ที่จะทำให้ผู้ฟังไม่เบื่อ ประเด็นของเนื้อหาเพลงต้อง "ไม่ซ้ำซาก" "ไม่วนไปวน" มาจนเกินไป นั่นเอง
ดูไม่มีอะไรมากมายยุ่งยากนะครับ แต่ก็ไม่ควรหลงลืม เพราะบางทีศิลปินมักแต่งเพลงจากอารมณ์มากเกินไป ไม่ใช่ว่าไม่ดีนะครับ แต่ว่าอาจทำให้พลาดจุดสำคัญแต่งวนไปวนมา จนทำให้ผู้ฟังเบื่อเอาได้
ขั้นตอนและวิธีการต่างๆที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงต่างๆในการแต่งเพลง ทั้งทางด้านเนื้อหาและอารมณ์ของเพลงนั้น สามารถเครื่องมือในการกำหนดเนื้อหาได้ นั่นคือการใช้กล่อง 3 กล่องในการแบ่งช่วงของเนื้อหา สามารถอ่านการใช้กล่อง 3 กล่องได้ในบทความนี้เลยครับ แต่งเพลงให้มีไดนามิคด้วยกล่อง